ทิศนา แขมมณี (2553:80)กล่าวถึงทฤษฏีนี้ว่ากระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูลเป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมองทฤษฎีนี้เริ่มได้รับความนิยมมาตั้งแต่ปี
ค.ศ.1950จวบจนปัจจุบันโดยมีผู้เรียกชื่อในภาษาไทยหลายชื่อ เช่น
ทฤษฎีการประมวลข่าวสาร ทฤษฎีการประมวลข้อมูลข่าวสาร ฯลฯ ในที่นี้
ผู้เขียนขอเรียกว่า ทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล เพราะคิดว่า
มีความหมายตรงกับหลักทฤษฎีและเข้าใจได้ง่ายทฤษฎีนี้มีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
คลอสเมียร์ (Klausmeier,1985:52-108)ได้อธิบายการเรียนรู้ของมนุษย์โดยเปรียบเทียบการทำงานของคอมพิวเตอร์กับการทำงานของสมองซึ่งมีการทำงานเป็นขั้นตอนดังนี้คือ
1.การรับข้อมูล (input)
โดยผ่านทางอุปกรณ์หรือเครื่องรับข้อมูล
2.การเข้ารหัส (encoding)
โดยอาศัยชุดคำสั่งหรือซอฟต์แวร์ (software)
3.การส่งข้อมูลออก (output)
โดยผ่านทางอุปกรณ์
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:31)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าเป็นการศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
ด้านการทำงานของสมองโดยมีแนวคิดว่าการทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
ปริวัตร เขื่อนแก้ว (http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm) กล่าวไว้ว่าทฤษฎีกระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล(Information
Processing Theory) เป็นทฤษฏีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์
โดยให้ความสนใจเกี่ยวกับการทำงานของสมอง ทฤษฏีนี้มีแนวคิดว่า การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียน สอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
หากต้องการให้ผู้เรียนจดจำเนื้อหาสาระใดๆ ได้เป็นเวลานาน สาระนั้นจะต้องได้รับการเข้ารหัส(encoding) เพื่อนำไปเข้าหน่วยความจำระยะยาว วิธีการเข้ารหัสสามารถทำได้หลายวิธี เช่น
การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิด
การทำงานของสมองมนุษย์มีความคล้ายคลึงกับการทำงานของคอมพิวเตอร์
โดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น เปรียบเสมือนการรับข้อมูล
การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวล
เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว เช่น การท่องจำ เปรียบเสมือนการเข้ารหัส
และการจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่างๆ
ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ
ก็เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์
สรุป กระบวนการทางสมองในการประมวลข้อมูล
เป็นทฤษฎีที่สนใจศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาสติปัญญาของมนุษย์ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ การนำเสนอสิ่งเร้าที่ผู้เรียนรู้จักหรือมีข้อมูลอยู่จะสามารถช่วยให้ผู้เรียนหันมาใส่ใจและรับรู้สิ่งนั้น
จัดสิ่งเร้าในการเรียนรู้ให้ตรงกับความสนใจของผู้เรียนสอนให้ฝึกการจำโดยใช้วิธีการที่หลากหลาย
เช่น การท่องจำซ้ำๆ การทบทวน หรือการใช้กระบวนการขยายความคิดโดยเริ่มต้นจากการที่มนุษย์รับสิ่งเร้าเข้ามาทางประสาทสัมผัสทั้ง
5
สิ่งเร้าที่เข้ามาจะได้รับการบันทึกไว้ในความจำระยะสั้น
เปรียบเสมือนการรับข้อมูล การเก็บข้อมูลไว้ใช้ในภายหลัง
สามารถทำได้โดยข้อมูลนั้นจำเป็นต้องได้รับการประมวล
เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว เช่น การท่องจำ เปรียบเสมือนการเข้ารหัส
และการจัดการควบคุมกระบวนการคิด ด้วยวิธีต่างๆ
ก็เปรียบเสมือนการส่งข้อมูลออกของคอมพิวเตอร์เพื่อนำไปเก็บไว้ในความจำระยะยาว
ช่วยให้การเรียนรู้และงานที่ทำประสบผลสำเร็จตามที่ต้องการ
อ้างอิง
ทิศนา แขมมณี. (2553).
ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(2552).80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.
แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ
ปริวัตร เขื่อนแก้ว. (ออนไลน์) ชื่อเว็บไซต์ : http://www.wijai48.com/learning_stye/learningprocess.htm
เข้าถึงเมื่อ 15 / 07 / 2555
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น