วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.2.1 ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มพฤติกรรมนิยม

               ทิศนา แขมมณี (2548 : 50) กล่าวไว้ว่า นักคิด นักจิตวิทยาในกลุ่มพฤติกรรมนิยมมองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่างๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้
ทฤษฎีการเรียนรู้ในกลุ่มพฤติกรรมนิยม ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญ 3 แนวคิด ดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย 4 ทฤษฏี ดังนี้
1) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ (Pavlov)

2) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning) ของกัทธรี
3) ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Operant Conditioning)

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมแล้วกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า นักคิดในกลุ่มนี้มองธรรมชาติของมนุษย์ในลักษณะที่เป็นกลาง คือ ไม่ดีไม่เลว การกระทำต่างของมนุษย์เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอกพฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า(stimulus response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองกลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสนใจกับ พฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัด สามารถวัดและทดสอบได้ ทฤษฏีการเรียนรู้ในกลุ่มนี้ ประกอบด้วยแนวคิดสำคัญๆ 3 แนวด้วยกัน คือ
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์ (Thorndike) มีความเชื่อว่าการเรียนรู้เกิดจาการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนอง ซึ่งมีหลายรูปแบบ บุคคลจะมีการลองผิดลองถูกปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกว่าจะพบรูปแบบการตอบสนองที่สามารถให้ผลที่พึงพอใจมากที่สุด
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory) ประกอบด้วยทฤษฏีย่อย4 ทฤษฏี ดังนี้
               2.1 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของพาฟลอฟ (Pavlov’s Classical Conditioning)
              2.2 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติของวัตสัน (Watson’s Classical Conditioning)
              2.3 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่องของกัทธรี (Guthrie’s Contiguous Conditioning)
              2.4 ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบโอเปอร์แรนต์ของสกินเนอร์ (Skinner’s Operant Conditioning)
3. ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory) มีความเชื่อว่าถ้าร่างกายเมื่อยล้าการเรียนรู้จะลดลง การตอบสนองต่อการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีที่สุดเมื่อได้รับแรงเสริมในเวลาใกล้บรรลุเป้าหมาย

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:18) ได้กล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าไว้ว่า
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike's connectionism)
- กฎแห่งความพร้อม (Law of readiness)
- กฎแห่งการฝึกหัด (Law of exercise)
- กฎแห่งการใช้ (Law of use and disuse)
- กฎแห่งผลที่พึงพอใจ (Law of effect)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือแบบอัตโนมัติ (Classical conditioningtheory) ของพาฟลอฟ
3. ทฤษฎีการเรียนรู้การวางเงื่อนไขแบบการกระทำ (Operant conditioningtheory) ของสกินเนอร์
 
สรุป ธรรมชาติของมนุษย์มีลักษณะเป็นกลาง คือ ไม่ดี ไม่เลว (neutral-passive) การกระทำต่างๆ เกิดจากอิทธิพลของสิ่งแวดล้อมภายนอก พฤติกรรมของมนุษย์เกิดจากการตอบสนองต่อสิ่งเร้า (stimulus-response) การเรียนรู้เกิดจากการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนอง กลุ่มพฤติกรรมนิยมให้ความสำคัญกับพฤติกรรมมาก เพราะพฤติกรรมเป็นสิ่งที่สังเกตเห็นได้ สามารถวัดและทดสอบได้ว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีถ้าผู้เรียนมีความพร้อมทั้งทางร่างกายและจิตใจอยู่ในระดับไหนโดยใช้ทฤษฎีต่างๆได้แก่
1. ทฤษฎีการเชื่อมโยงของธอร์นไดค์ (Thorndike’s Connectionism Theory)
2. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
3. ทฤษฎีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)
4. ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบอัตโนมัติ (Classical Conditioning) ของพาฟลอฟ
5. ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบต่อเนื่อง (Contiguous Conditioning) ของกัทธรี
6. ทฤษฏีการวางเงื่อนไขของสกินเนอร์ (Operant Conditioning)
7. ทฤษฎีการเชื่อมโยง (Classical Connectionism) ของธอร์นไดค์
8. ทฤษฎีการวางเงื่อนไข (Conditioning Theory)
9. ทฤษฏีการเรียนรู้ของฮัลล์ (Hull’s Systematic Behavior Theory)

อ้างอิง

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ. (ออนไลน์) ชื่อเว็บไซต์ : URL:http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486/. เข้าถึงเมื่อ 8 / 07 / 2555

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์.(2552).นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ.

 



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น