ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา (http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm) กล่าวไว้ว่า ในปี พ.ศ. 2526 การ์ดเนอร์ ได้เสนอว่าปัญญาของมนุษย์มีอยู่อย่างน้อย 7 ด้าน คือ ด้านภาษา ด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ ด้านมิติสัมพันธ์
ด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว ด้านดนตรี ด้านมนุษยสัมพันธ์ และด้านการเข้าใจตนเอง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ได้เพิ่มเติมเข้ามาอีก 1 ด้าน คือ ด้านธรรมชาติวิทยา เพื่อให้สามารถอธิบายได้ครอบคลุมมากขึ้น
จึงสรุปได้ว่า พหุปัญญา ตามแนวคิดของการ์ดเนอร์ ในปัจจุบันมีปัญญาอยู่อย่างน้อย 8
ด้าน ดังนี้
1.
ปัญญาด้านภาษา (Linguistic Intelligence)
2.
ปัญญาด้านตรรกศาสตร์และคณิตศาสตร์ (Logical-Mathematical
Intelligence)
3.
ปัญญาด้านมิติสัมพันธ์ (Visual-Spatial Intelligence)
4.
ปัญญาด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว (Bodily Kinesthetic Intelligence)คื
5.
ปัญญาด้านดนตรี (Musical Intelligence)
6.
ปัญญาด้านมนุษยสัมพันธ์ (Interpersonal Intelligence)
7.
ปัญญาด้านการเข้าใจตนเอง (Intrapersonal Intelligence)
8.
ปัญญาด้านธรรมชาติวิทยา (Naturalist Intelligence)
ทฤษฎีนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในกระบวนการส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆเพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยเน้นความสำคัญใน 3 เรื่องหลัก ดังนี้
1. แต่ละคนควรได้รับการส่งเสริมให้ใช้ปัญญาด้านที่ถนัด
เป็นเครื่องมือสำคัญในการเรียนรู้
2. ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้
ควรมีรูปแบบที่หลากหลาย เพื่อให้สอดรับกับปัญญาที่มีอยู่หลายด้าน
3. ในการประเมินการเรียนรู้ ควรวัดจากเครื่องมือที่หลากหลาย
เพื่อให้สามารถครอบคลุมปัญญาในแต่ละด้าน
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:33) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Garner ได้เสนอทฤษฎีพหุปัญญา
ซึ่งได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในการนำไปจัดการศึกษาในปัจจุบัน Garner มีความเชื่อพื้นฐานว่า เชาว์ปัญญาของบุคคลไม่ได้มีเพียงความสามารถทางภาษาและทางคณิตศาสตร์เท่านั้น
แต่มีอยู่หลากหลายถึง 8 ประเภทหรืออาจจะมีมากกว่านี้ ซึ่งแต่ละคนจะมีความสามารถด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่นและมีความสามารถในด้านต่างๆไม่เท่ากันความสามารถที่ผสมผสานกันออกมาทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตนและเชาว์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิดแต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
ทิศนา แขมมณี (2552 : 85) กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับเชาว์ปัญญา (Intelligences) ที่มีมาตั้งแต่เดิมนั้น จำกัดอยู่ที่ความสามารถด้านภาษา
ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และการคิดเชิงตรรกะหรือเชิงเหตุผลเป็นหลัก
การวัดเชาวน์ปัญญาของผู้เรียนจะวัดจากคะแนนที่ทำได้จากแบบทดสอบทางสติปัญญา
ซึ่งประกอบด้วยการทดสอบความสามารถทั้ง 2 ด้านดังกล่าว
คะแนนจากการวัดเชาว์ปัญญาจะเป็นตัวกำหนดเชาว์ปัญญาของบุคคลนั้นไปตลอด
เพราะมีความเชื่อว่า
องค์ประกอบของเชาวน์ปัญญาจะไม่เปลี่ยนแปลงไปตามวัยหรือประสบการณ์มากนัก
แต่เป็นคุณลักษะที่ติดตัวมาแต่กำเนิด การ์ดเนอร์ (Gardner, 1983) ให้นิยามคำว่า “เชาวน์ปัญญา” (Intelligence) ไว้ว่า หมายถึงความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง ๆ
หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
รวมทั้งความสามารถใจการตั้งปัญหาเพื่อจะหาคำตอบและเพิ่มพูนความรู้
สรุป เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากกว่านี้
คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น และมีความสามารถในด้านต่างๆ
ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกัน ทำให้บุคคลแต่ละคนมีเอกลักษณ์เฉพาะตน
การเรียนรู้ที่หลากหลายที่สามารถส่งเสริมเชาวน์ปัญญาหลายๆ ด้าน ให้เหมาะสมกับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน
การสอนควรเน้นการส่งเสริมความเป็นเอกลักษณ์ของผู้เรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาในสภาพแวดล้อมต่าง
ๆ หรือการสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ มีความสัมพันธ์กับบริบททางวัฒนธรรมในแต่ละแห่ง
และนักการศึกษาจะตระหนักถึงการทำการทดสอบทางสติปัญญาที่เคยปฏิบัติกันสมัยก่อนว่าไม่มีความเหมาะสมเพียงพอที่จะวัดสติปัญญาเพียงด้านเดียวซึ่งเรารู้เองว่ามีการแสดงออกทางสติปัญญาได้หลากหลายวิธีและรู้ว่าสติปัญญาสามารถได้รับการฝึกฝน
สติปัญญาของมนุษย์ มีความสำคัญในหลายๆด้าน เชาวน์ปัญญาของแต่ละคนอาจจะมีมากก คนแต่ละคนจะมีความสามารถเฉพาะด้านที่แตกต่างไปจากคนอื่น
และมีความสามารถในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน ความสามารถที่ผสมผสานกันออกมา ทำให้บุคคลแต่ละคนมีแบบแผนซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
และเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคลจะไม่อยู่คงที่อยู่ที่ระดับที่ตนมีตอนเกิด
แต่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หากได้รับการส่งเสริมที่เหมาะสม
อ้างอิง
ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา.(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์ : http://www.happyhomeclinic.com/a01-multiple%20intelligence.htm. เข้าถึงเมื่อ 14/07/2555
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่นกรุงเทพฯ
ทิศนา แขมมณี. (2552).ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น