ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกาเย (Gagne’s eclecticism)
ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจ(Gaining attention)
ขั้นที่ 2 แจ้งจุดประสงค์(Informing the learning)
ขั้นที่ 3 กระตุ้นให้ผู้เรียนระลึกถึงความรู้เดิมที่จำเป็น(Stimulating recall of prerequisite learnedcapabilities)
ขั้นที่ 4 เสนอบทเรียนใหม่(Presenting the stimulus)
ขั้นที่ 5 ให้แนวทางการเรียนรู้(Providing learning guidance)
ขั้นที่ 6 ให้ลงมือปฏิบัติ(Eliciting the performance)
ขั้นที่ 7 ให้ข้อมูลป้อนกลับ(Feedback)
ขั้นที่ 8 ประเมินพฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดประสงค์(Assessing the performance)
ขั้นที่ 9 ส่งเสริมความแม่นยำและการถ่ายโอนการเรียนรู้(Enhancing retention and transfer)
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ (http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย (Gagne’s eclecticism) แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของทฤษฏีนี้
คือ ความรู้มีหลายประเภท บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนมาก จำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้
คือ การจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก
ทิศนา แขมมณี (2548 : 72) กล่าวไว้ว่า
กานเย (Gagne’)
เป็นนักจิตวิทยาและนักการศึกษาในกลุ่มผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมและพุทธินิยม
(Behavior Cognitivist) เขาอาศัยทฤษฏีและหลักการที่หลากหลาย
เนื่องจากความรู้มีหลายประเภท
บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนมากจำเป็นต้องใช้ความสามารถในขั้นสูง กานเย่ ได้จัดขั้นการเรียนรู้ซึ่งเริ่มจากง่ายไปหายาก
โดยผสมผสานระหว่างพฤติกรรมนิยมและพุทธินิยมเข้าด้วยกัน
หลักการที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้(Gagne and Briggs,1974:121-136)
1. กาเย (Gagne) ได้จัดประเภทของการเรียนรู้
เป็นลำดับขั้นจากง่ายไปหายากไว้ 8 ประเภทดังนี้หลักการที่สำคัญของกานเย สรุปดั้งนี้(Gagne and Briggs,1974:121-136)
1.1 การเรียนรู้สัญญาณ (signal-learning)
1.2 การเรียนรู้สิ่งเร้า-การตอบสนอง(stimulus-response)
1.3 การเรียนรู้การเชื่อมโยงแบบต่อเนื่อง (chaining)
1.4 การเชื่อมโยงทางภาษา (verbal association)
1.5 การเรียนรู้ความแตกต่าง (discrimination learning
1.6 การเรียนรู้ความคิดรวบยอด (concept learning)
1.7 การเรียนรู้กฎ (rule learning)
1.8 การเรียนรู้การแก้ปัญหา (problem solving)
2. กาเยได้แบ่งสมรรถภาพการเรียนรู้ของมนุษย์ไว้ 5 ประการดังนี้
2.1 สมรรถภาพในการเรียนรู้ข้อเท็จจริง (verbal information)
2.2 ทักษะเชาว์ปัญญา (intellectual skills)
2.3 ยุทธศาสตร์ในการคิด (cognitive strategies)
2.4 ทักษะการเคลื่อนไหว (motor skills) เ
2.5 เจตคติ(attitudes)
สรุป ทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มผสมผสานของกานเย
กล่าวถึง ความรู้มีหลายประเภท
บางประเภทสามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วไม่ต้องใช้ความคิดที่ลึกซึ้ง
บางประเภทมีความซับซ้อนมาก
จำเป็นต้องจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบโดยเริ่มจากการสร้างความสนใจ
บอกวัตถุประสงค์ ทบทวนความรู้เดิม นำเสนอเนื้อหาใหม่ ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้
ลงมือปฏิบัติ ให้ข้อมูลย้อนกลับ ทดสอบความรู้ใหม่ การเรียนรู้แบบนี้จะเกิดจากการที่เรานำเอาลักษณะการตอบสนองที่มีอยู่แล้วมาสัมพันธ์กับสิ่งเร้าใหม่ที่มีความใกล้ชิดกับสิ่งเร้าเดิม
ทำให้เกิดแก้ปัญหาที่มีสถานการณ์ที่แตกต่างได้อย่างดี
รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างสร้างสรรค์และถูกต้องเหมาะสม
อ้างอิง
สุริน ชุมสาย ณ อยุธยา. (ออนไลน์) ชื่อเว็บไซต์ :
http://surinx.blogspot.com// เข้าถึงเมื่อวันที่
8/07/2555
ณัชชากัญญ์ วิรัตนชัยวรรณ.(ออนไลน์)ชื่อเว็บไซต์:
http://www.learners.in.th/blog/natchakan/386486 เข้าถึงเมื่อวันที่ 8/07/2555
ทิศนา แขมมณี (2553) .ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น