วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

1.3.3 ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง

                  ชัยวัฒน์   สุทธิรัตน์ (2552:37)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า Vygotsky  ให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมและสังคมมาก เขาอธิบายว่ามนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เกิด  ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว  ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคม  คือ  วัฒนธรรมที่แตกต่างที่ละสังคมสร้างขึ้นเน้นความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคลและการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อให้ก้าวหน้าจากระดับพัฒนาการที่เป็นอยู่ไปถึงระดับพัฒนาการที่เด็กมีศักยภาพที่เด็กจะไปถึงได้
          
  ทิศนา  แขมมณี  (2552 :90) กล่าวไว้ว่า คนทุกคนจะมีพัฒนาเชาว์ปัญญาไปตามลำดับขั้นจากการมีปฎิสัมพันธ์และประสบการณ์ กับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ และประสบการณ์เกี่ยวกับการคิดเชิงตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมทั้งการถ่ายทอดความรู้ทางสังคม วุฒิภาวะ และกระบวนการพัฒนาความสมดุลของบุคคลนั้น
        
            สุรางค์   โคว้ตระกูล. (2545 : 83 ) กล่าวว่า ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism) เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ  เป็นกระบวนการที่ผู้เรียนจะต้องจัดกระทำกับข้อมูล  นอกจากกระบวนการเรียนรู้จะเป็นกระบวนการปฏิสัมพันธ์ภายในสมองแล้ว  ยังเป็นกระบวนการทางสังคมด้วย  การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป  หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้จะมุ่งเน้นไปที่กระบวนการสร้างความรู้ (process of knowledge construction)  

        
                สรุป  ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง  เป็นทฤษฏีที่ให้ความสำคัญกับกระบวนการและวิธีการของบุคคลในการสร้างความรู้ความเข้าใจจากประสบการณ์  รวมทั้งโครงสร้างทางปัญญาและความเชื่อที่ใช้ในการแปลความหมายเหตุการณ์และสิ่งต่างๆ มนุษย์ได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อมตั้งแต่เกิด  ซึ่งนอกจากสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติแล้ว  ยังมีสิ่งแวดล้อมทางสังคม  คือ  วัฒนธรรมที่แตกต่างที่ละสังคมสร้างขึ้นเน้นความสำคัญของความแตกต่างระหว่างบุคคลและการให้ความช่วยเหลือผู้เรียนเพื่อให้ก้าวหน้าจากระดับพัฒนาการที่เป็นอยู่ไปถึงระดับพัฒนาการที่เด็กมีศักยภาพที่เด็กจะไปถึงได้การสร้างความรู้จึงเป็นกระบวนการทั้งด้านสติปัญญาและสังคมควบคู่กันไป 
          



อ้างอิง
ดร.ชัยวัฒน์   สุทธฺรัตน์. (2553). ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สำนักพิมพ์บริษัทแดเน็กซ์อินเตอร์คอร์มปอเรชั่นจำกัด.
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอนองค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
              สุรางค์ โคว้ตระกูล. (2545). จิตวิทยาการศึกษา. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น