เทอดชัย บัวผาย
(http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7)
กล่าวว่าแนวคิดของทฤษฏีนี้คือการเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม จะทำให้ความคิดเห็นนั้นเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น
หลักการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฏีนี้ คือ
ครูจะต้องทำหน้าที่อำนวยความสะดวกในการเรียนรู้แก่ผู้เรียน
ให้คำปรึกษาชี้แนะแก่ผู้เรียน เกื้อหนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ
ในการประเมินผลนั้นต้องมีการประเมินทั้งทางด้านผลงานและกระบวนการซึ่งสามารถ
ใช้วิธีการที่หลากหลาย เช่น การประเมินตนเอง การประเมินโดยครูและเพื่อน การสังเกต
การประเมินโดยใช้แฟ้มสะสมงาน
ทิศนา แขมมณี (2552:96)ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่าทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานเป็นทฤษฎีที่มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพีเจต์
ผู้พัฒนาทฤษฎีนี้ คือ ศาสตราจารย์ ซีมัวร์ เพเพอร์ทแห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ แนวความคิดของทฤษฎีนี้ คือ การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเอง
และด้วยตนเองของผู้เขียน ผู้รียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและทำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์ (2552:40) ได้รวบรวมและกล่าวถึงทฤษฎีนี้ว่า
การเรียนรูที่เกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเองไปสร้างสรรค์ชิ้นงาน
โดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนและเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใด
สิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกจึงเป็นการสร้างความรู้ขึ้นตนเองความรู้ที่ผู้เรียน
สร้างขึ้นในตนเองนี้จะมีความหมายต่อผู้เรียนจะคงทน
ผู้เรียนจะไม่ลืมง่ายและสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนเองได้ดี
นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้างความ
รู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
สรุป แนวความคิดของทฤษฎีนี้ คือ
การเรียนรู้ที่ดีเกิดจากการสร้างพลังความรู้ในตนเองและด้วยตนเองของผู้เรียน
หากผู้เรียนมีโอกาสได้สร้างความคิดและนำความคิดของตนเอง
ไปสร้างสรรค์ชิ้นงานโดยอาศัยสื่อและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
จะทำให้เห็นความคิดนั้นเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
และเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมาในโลกจึงเป็นการสร้างความรู้
ขึ้นในตนเอง ความรู้ที่ผู้เรียนสร้างขึ้นในตนเองนี้จะมีความหมายต่อผู้เรียน
จะอยู่คงทน ผู้เรียนจะไม่ลืมง่ายและจะสามารถถ่ายทอดให้ผู้อื่นเข้าใจความคิดของตนได้ดี
นอกจากนั้นความรู้ที่สร้างขึ้นเองนี้ยังจะเป็นฐานให้ผู้เรียนสามารถสร้าง
ความรู้ใหม่ต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
อ้างอิง
เทอดชัย บัวผาย. (ออนไลน์) ชื่อเว็บไซต์ : http://www.niteslink.net/web/?name=webboard&file=read&id=7 เข้าเมื่อวันที่ 15 / 07
/ 2555
ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน
:
องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). 80
นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น
กรุงเทพฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น